วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

SOUND GARD

SOUND GARD
 เสียง เป็นส่วนสำคัญของระบบมัลติมีเดียไม่น้อยกว่าภาพ ดังนั้นการ์ดเสียงจึงเป็นอุปกรณ์จำเป็นที่สำคัญของระบบ คอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย การ์ดเสียงได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพของเสียง และความผิดเพี้ยนน้อยที่สุด ตลอดจนระบบเสียง 3 มิติในปัจจุบัน
          ความชัดเจนของเสียงจะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก ประการ คือ อัตราการสุ่มตัวอย่างและความแม่นยำของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้นถูกกำหนดโดยความสามารถของ A/D Converterว่ามีความละเอียดมากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะประมาณค่าสัญญาณดิจิตอลได้ใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุด ความละเอียดของ A/D Converter นั้นถูกกำหนดโดยจำนวนบิตของสัญญาณดิจิตอลเอาต์พุต เช่น
          A/D Converter 8 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ
          A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ
          หาก จำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของสัญญาณ เสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือ ประสิทธิภาพที่ของเสียงที่ได้รับดีขึ้นนั่นเองแต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่าง จะมากขึ้นด้วย


ส่วนประกอบของการ์ดเสียง
          การ์ดเสียงเกิดจากการนำเอาอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์มาประกอบรวมกันบนแผง PCB (Print Circuit Board)โดยมีชิปที่เป็นอุปกรณ์หลักในการสร้างเสียงคือ Synthesizer ซึ่งในปัจจุบันมักเป็นแบบ wave table โดยผู้ผลิตชิปสังเคราะห์เสียงที่มีชื่อเสียงคือ ESS และ Yamaha ส่วนอื่นจะเป็นช่องต่อสำหรับนำสัญญาณเข้า-ออกเพื่อทำงานด้านเสียง
          1. คอนเน็คเตอร์ CD Audio เป็นส่วนที่อยู่ในเครื่องเพื่อรับสัญญาณเสียงแบบอนาล็อกจากไดร์ฟซีดีรอมผ่านสายเชื่อมต่อที่มี 4 ช่อง สำหรับนำมาเสียบเข้ากับตัวคอนเน็คเตอร์การเสียบผิดด้านไม่ทำให้เสียหายแต่จะเป็นการสลับช่องสัญญาณออกสู่ลำโพงซ้าย-ขวา เท่านั้น

          2. ชิปสังเคราะห์เสียงหรือ Synthesizer ในยุคแรกเป็นแบบ FM ที่เรียกว่า Frequency Modulation เป็นการสังเคราะห์เสียงแบบผสมความถี่ซึ่งไม่นิยมใช้ปัจจุบันนี้ เพราะไม่สามารถให้เสียงที่เป็นธรรมชาติเหมือนเครื่องดนตรีจริงได้ WaveTable เป็น วิธีการสังเคราะห์เสียงที่นิยมใช้กันมากที่สุดในยุคปัจจุบันเนื่องจากสามารถ ให้เสียงได้ใกล้เคียงกับเครื่องดนตรีจริงมากที่สุดซึ่งวิธีการคือ บันทึกเสียงเครื่องดนตรีจริงของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดไว้เป็นช่วงสั้น ๆ เพื่อเก็บไว้เป็นต้น แบบไปหาจากเสียงต้นแบบในตารางเสียงที่มีความถี่เดียวกันมาการ์ดเสียงที่ใช้ วิธีการนี้จึงให้เสียงเหมือนกับมีเครื่องดนตรีบรรเลงอยู่จริง ๆ

          3. ช่อง Line - out (สีชมพู) ช่องต่อนี้จะมีเฉพาะการ์ดเสียงแบบ 4 แชนแนล ใช้สำหรับต่อสัญญาณเสียงไปยังลำโพงแบบ Surround ซ้าย-ขวา

          4. ช่อง Line - in (สี น้ำเงิน) สำหรับรับสัญญาณเสียงจากอุปกรณ์กำเนินเสียงอื่น เช่น เครื่องเล่นวิทยุ - เทป เครื่องเล่นซีดี ฯลฯ เข้ามาที่การ์ดเพื่อขยายสัญญาณเสียงหรือแสดงผลที่เครื่องของเรา

          5. ช่อง Speaker (สีเขียว) สำหรับส่งสัญญาณเสียงจากการ์ดเสียงออกไปยังลำโพงปกติในแบบสเตอริโอ

          6. MIDI/Game Port เป็นคอนเน็คเตอร์รูปตัว "D" ใช้ต่อพ่วงอุปกรณ์ประเภท 
MIDI หรืออุปกรณ์สำหรับเล่นเกม เช่น จอยสติกส์ เกมแพด ฯลฯ

การติดตั้งการ์ดเสียง
          การ์ดเสียงรุ่นใหม่ๆที่ขายอยู่ในท้องตลาดทุกวันนี้จะเป็นการ์ดแบบ PCI ขั้นตอนการติดตั้งจะคล้ายกับการ์ดแลน แต่จะมีการติดตั้งสายสัญญาณเสียงเข้ากับซีดีรอมไดรว์ด้วยเท่านั้นตามขั้นตอนดังนี้


ขั้นตอนการติดตั้งการ์ดเสียง
          1. เสียบแผ่นการ์ดลงในสล็อตแล้วค่อยๆออกแรงกดเบา ๆ
          2. ขันน็อตยึดการ์ดเสียงเข้ากับตัวเคส


          3. ต่อสายสัญญาณของการ์ดเสียงโดยนำสายที่ต่ออยู่กับซีดีรอมไดรว์ตรงช่อง Analog Audio มาเสียบเข้าที่คอนเน็คเตอร์ CD-INของการ์ดเสียง

ปัญหาและการแก้ปัญหาที่เกิดจาก Sound Card

SOUND-ISASOUND-PCI

- ปัญหา 
Windows กับเครื่องที่มีการ์ดเสียง แต่กลับไม่มีเสียง
          สาเหตุ : หลังการติดตั้ง Windows ลงเครื่องและได้ติดตั้งไดรเวอร์การ์ดเสียงแล้วตามปกติเครื่องจะต้อง
มีเสียงดัง แต่ในบางครั้งอาจมีการกำหนดไม่ให้แสดงเสียงไว้หริอมีคนไปเปลี่ยนแปลงการปรับแต่ง
เกี่ยวกับเสียงจึงทำให้ไม่มีเสียง
          วิธีการแก้ปัญหา :
          1. สำหรับ Windows XP เปิดเครื่อง Control Panel เลือก Switch to Classic View
แล้วดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Sound and Audio Drvices
          2. ที่แท็ป Volume ให้คลิกปุ่ม Advaced
          3. ที่หัวข้อ Volume Control ให้สังเกตดูว่ามีเครื่องหมายถูกเลือกในกรอบหน้าช่อง Mute all เพื่อไม่ให้มีเสียงหรือไม่ให้คลิกเอาเครื่องหมายถูกออกเพื่อให้แสดงเสียงได้เมื่อกลับมาที่หน้าต่างเดิมให้คลิกปุ่ม OK

- ปัญหา 
Sound Card ไม่มีเสียงออก
          สาเหตุที่ 1 ไม่ได้ติดตั้งไดรเวอร์ (Driver) ของ Sound Card
          วิธีการแก้ปัญหา : ให้นำแผ่นไดรเวอร์ที่แถมมาพร้อมกับ Sound Card มาติดตั้ง

          สาเหตุที่ ไดรเวอร์ Sound Card ที่ติดตั้งไม่สมบูรณ์หรือผิด
          วิธีการแก้ปัญหา : ปกติเมื่อเราติดตั้งอุปกรณ์ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าอุปกรณ์สนับสนุนระบบ Plug and Play เครื่องจะพบอุปกรณ์โดยอัตโนมัติทันทีหลังจากเปิดเครื่องครั้งต่อไปและถ้าในระบบปฎิบัติการไม่มีไดรเวอร์
ที่เหมาะสมสำหรับอุปกรณ์ตัวนั้น เครื่องจะถามหาแผ่นไดรเวอร์ ถ้าไม่มีแผ่นไดรเวอร์ สุดท้ายไฟล์ไดรเวอร์ไม่ครบเครื่องก็จะสรุปว่าเป็น Unknown Device ซึ่งวิธีแก้คือ ให้เราหาไดร์เวอร์มาติดตั้ง

          สาเหตุที่ 
ไดร์เวอร์ที่เราติดตั้งไม่ตรงรุ่นหรือยี่ห้อของ Sound Card
          วิธีการแก้ปัญหา : เป็นไปได้ที่บางครั้งเครื่องจะลงไดร์เวอร์ให้อัตโนมัติผิดรุ่น หรือเราลงผิดเอง ซึ่งอาจจะลงได้สำเร็จแต่ซาวน์การ์ดไม่ทำงาน อาการนี้เราแก้ได้โดยลงไดร์เวอร์ใหม่ให้ตรงกับรุ่นของ Sound Card

          สาเหตุที่ 
4
 เกิดความคอนฟิคท์ (Conflict) หรือขัดแย้งกับอุปกรณ์ตัวอื่น
          วิธีการแก้ปัญหา : เราสามารถตรวจสอบได้ว่าเกิดการขัดแย้งกับอุกรณ์ตัวอื่น โดยเข้าไปที่ Device Manager สังเกตดูที่ Sound Card จะมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ให้ดับเบิ้ลคลิกจะเข้าสู่ Properties ของ Sound Card ให้ดูว่ามีการขัดแย้งกันที่ใด แล้วเข้าไปเซ็ทค่าใหม่ไม่ให้ซ้ำกับอุปกรณ์ตัวอื่นๆ

          สาเหตุที่ 
5 ที่ Volume Control ถูก Mute ไว้
          วิธีการแก้ปัญหา : บางทีการที่เสียงไม่ดังเป็นเพราะว่าเราไม่ได้เข้าไปปรับทางด้านซอฟต์แวร์ไม่ได้เป็นฮาร์ดแวร์เลย เช่น ที่ Volume Control (เฉพาะในระบบปฎิบัติการ Windows) เพื่อตั้งค่าความดังของเสียงในระบบ วิธีเข้าโดยคลิกที่ Start > Programes>Accessories >Entertainment >Volume Control เพื่อติดตั้งความดังของเสียง หรือบางครั้งจะมีรูปลำโพงสีเหลืองอยู่ที่ Taskbar สามารถดับเบิ้ลคลิกเพื่อเปิด Volume Control ได้อย่างรวดเร็ว หากหา volume Control ไม่พบอาจเป็นเพราะไม่ได้ติดตั้งส่วนประกอบนี้ไว้ก็ได้ ให้ลองไปตรวจสอบโดยคลิกที่ Start > Setting > Control Panel > Add / RemoveProgrames > Windows Setup ในหมวดของ Multimedia จะมีVolume Control อยู่ ใส่เครื่องหมายถูกเพื่อเพิ่มส่วนประกอบนี้เข้าไป

          สาเหตุที่ 
6 Sound Card หลวม
          วิธีการแก้ปัญหา : เป็นไปได้ที่ Sound Card ที่เสียบอยู่ในสล็อตอาจหลวม ให้เราปิดเครื่องแล้วเปิดฝาเครื่องขยับ Sound Card ให้แน่นแล้วลองเปิดเครื่องใหม่

          สาเหตุที่ 
7
 ต่อสายผิดช่อง
          วิธีการแก้ปัญหา : ปกติที่ Sound Card นั้นจะมีช่องเสียบอย่างน้อย ช่อง คือ Line-out Speaker out, Mic in และ Line in ซึ่งลักษณะ Jack เป็นลักษณะเดียวกันสามารถเสียบด้วยกันได้ ซึ่งถ้าเราเสียบผิดทำให้ไม่มีเสียงออก ให้เสียบลำโพงที่ช่องสีเขียว

          สาเหตุที่ ไม่ได้เสียบปลั๊กไฟของลำโพงหรือไม่ได้เปิดสวิทซ์ลำโพง
          วิธีการแก้ปัญหา : ลอง ตรวจสอบไฟแสดงการทำงานที่ลำโพงว่าไฟเข้าลำโพงหรือเปล่าถ้าไม่มีไฟเข้าอาจ เป็นเพราะไม่ได้เสียบปลั๊กลำโพง หรือไม่ได้เปิดสวิทซ์ลำโพงก็เป็นได้ ลองตรวจสอบดู

          สาเหตุที่ ลืมเร่ง Volume ที่โปรแกรม
          ถ้าเราเร่งเสียง Volume ของลำโพงแล้วแต่เสียงยังไม่ดังอาจเป็นเพราะว่าไม่ได้เร่งเสียงที่ Volume Control ว่าเราได้เร่งเสียงเท่าไร ลองเร่งเสียงทั้งทที่ช่องMaster Volume (ด้านซ้ายสุด)และช่องเสียงที่เราใช้อยู่ หรืออาจลองเร่งเสียงดูทุกช่องเลยก็ได้

          สาเหตุที่ 
10 ระบบปฎิบัติการไม่รองรับ
          ปัญหานี้มักจะเกิดขึ้นกับ Sound Card รุ่น เก่า ที่ไม่มีไดรเวอร์สำหรับระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ๆให้ลองค้นหาไดรเวอร์จาก อินเตอร์เน็ตหรือดาวน์โหลดไดรเวอร์จากเว็บไซต์ของผู้ผลิต

          สาเหตุที่ 
11 Sound Card เสีย
          ถ้าทำทุกวิธีแล้วเป็นไปได้ที่ Sound Card อาจเสียให้ลองเอา Sound Card ไปลองใส่ในเครื่องอื่นดูถ้ายังใช้ไม่ได้เหมือนกันแสดงว่าเสีย

- ปัญหา 
Sound Card เสียงเบา
          สาเหตุที่ ไม่ได้ปรับปุ่มปรับเสียงที่ Sound Card ด้านหลังเครื่อง
          วิธีการแก้ปัญหา : Sound Card ที่มีวงจรขยายสัญญาณเสียงในตัวจะมีปุ่มปรับเสียงอยู่บนตัว Sound Cardด้วย เพื่อตั้งระดบสัญญาณเวียงให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ต่ออยู่ ให้เราปรับให้ดังจขึ้นตามความเหมาะสม

          สาเหตุที่ ลำโพงที่ใช้ไม่มีวงจรขยายเสียงในตัว
          วิธีการแก้ปัญหา : เมื่อเราซื้อ Sound Card จะต้องมีการตรวจสอบดูว่า Sound Card ที่กำลังจะซ้อนั้นมีแอมป์ในตัวหรือเปล่าและมีกำลัง Watts เท่าไร เพื่อที่จะสามารถซื้ลำโพงได้ถูก เช่น Sound Card บาง ตัวนั้นไม่มีวงจรขยายสัญญาณเสียงในตัวจึงไมมีกำลังขับเราจึงต้องหาลำโพงที่ มีวงจรขยายเสียงในตัวเราสามารถซ้อลำโพงได้ทั้งแบบมีแอมป์และไม่มีแอป์ในตัว มาใส่ได้

          สาเหตุที่ ไม่ได้ปรับ Balance ให้อยู่ตรงกลาง
          วิธีการแก้ปัญหา : ที Volume Controlจะมีปุ่มปรับ Balanceให้เลือกว่าจะดังที่ลำโพงข้างซ้ายหรือข้างขวามากกว่ากันถ้าเราเลื่อนไปทางด้านซ้ายหรือด้านขวาสุดลำโพงจะดังเพียงข้างเดียวให้ปรับปุ่ม Balance มาที่ตรงกลาง

- ปัญหา
 Sound Card เสียงแตก
          สาเหตุที่ แจ๊คเสียบไม่สะอาด
          ในกรณีไม่สะอาดเป็นเพราะหน้าสัมผัสทำปฎิกิริยากับอากาสเกิดอ๊อกไซด์ (สนิม) วิธีแก้ให้ทำความสะอาดแจ๊คลำโพง

          สาเหตุที่ แจ๊คเสียบหลวม
          วิธีการแก้ปัญหา : ให้ขยับแจ๊คของลำโพงให้แน่น

MODEM

Modem (โมเด็ม)

โมเด็มมาจากคำว่า MOdulator/DEModulator โดยแยกการทำงานออกเป็น Modulation คือการแปลงสัญญาณดิจิตอล จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ต้นทางให้กลายเป็นสัญญาณอะนาลอกแล้วส่งไปตามสายโทรศัพท์ และ Demodulation คือการเปลี่ยนจากสัญญาณอะนาลอก ที่ได้จากสายโทรศัพท์ให้กลับไปเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อส่งต่อไปยัง เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง สัญญาณจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณ Digital มีแค่ 0 กับ 1 เท่านั้น เมื่อเปลี่ยนมาเป็นสัญญาณอะนาลอกอยู่ในรูปที่คล้ายกับสัญญาณไฟฟ้าของ โทรศัพท์ จึงส่งไปทางสายโทรศัพท์ได้ สำหรับปัจจุบันนี้ความไวของโมเด็มจะสูงขึ้นที่ 56 Kbps ตอนแรกมีมาตรฐานออกมา 2 อย่างคือ X2 และ K56Flex ออกมาเพื่อแย่งชิงมาตรฐานกัน ทำให้สับสน ในการใช้งาน ต่อมามาตรฐานสากล ได้กำหนดออกมาเป็น V.90 เป็นการยุติความไม่แน่นอน ของการใช้งาน โมเด็มบางตัวสามารถ อัพเดทเป็น V.90 ได้ แต่บางตัวก็ไม่สามารถทำได้ สำหรับโมเด็มปัจจุบันนี้ยังมีความสามารถในการรับส่ง Fax ด้วย ความไวในการส่ง Fax จะอยที่ 14.4 Kb. เท่านั้น 

มาตรฐานโมเด็ม


V. 22 โมเด็มความเร็ว 1,200 bps
V. 22bis โมเด็มความเร็ว 2,400 bps
V. 32 โมเด็มความเร็ว 4,800 และ 9,600 bps
V. 32bis โมเด็มความเร็วตั้งแต่ 4,800 7,200 9,600 และ 14,400 bps
V. 32turbo พัฒนามาจาก V. 32bis อีกทีโดยมีความเร็ว 19,200 bps และสนับสนุนการบีบอัดข้อมูล
V. 34 ความเร็ว 28,800 bps
V. 34bis เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันอยู่ช่วงหนึ่ง ความเร็ว 33,600 bps ปัจจุบันก็ยังมีใช้อยู่
V. 42 เกี่ยวกับการทำ Error Correction ในโมเด็ม ช่วยให้โมเด็มเชื่อมต่อเสถียรมากยิ่งขึ้น
V. 90 เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน ความเร็วอยู่ที่ 56,000 bps
V. 44 พัฒนามาจาก V. 42 และพัฒนาการบีบอัดข้อมูลจาก 4:1 เป็น 6:1
V. 92 เพิ่มคุณสมบัติการทำงานกับชุมสายแบบ Call Waiting หรือสายเรียกซ้อน 


สามารถแบ่งการใช้งานออกได้เป็น 3 อย่างคือ 


1. Internal 
2. External
3. PCMCIA

Internal Modem

Internal Modem เป็นโมเด็มที่มีลักษณะเป็นการ์ดเสียบกับสล็อตของเครื่องอาจจะเป็นแบบ ISA หรือPCI ข้อดีก็คือ ไม่เปลืองเนื้อที่ ราคาไม่แพงมากนัก ใช้ไฟเลี้ยงจาก Mainboard ข้อเสียคือ ติดตั้งยากกว่าแบบภายนอก เนื่องจากติดตั้งภายในเครื่องทำให้ใช้ไฟในเครื่องอันส่งผลให้เพิ่มความร้อน ในเครื่อง เคลื่อนย้ายได้ไมสะดวกยาก ใช้ได้เฉพาะเครื่องคอมแบบ PC เท่านั้นไม่สามารถใช้งานกับ NoteBook ได้ 

http://it.excise.go.th/accessaries/modem-int.jpg
Internal Modem

External Modem

External Modem เป็นโมเด็มที่ติดตั้งภายนอกโดยจะต่อกับ Serial Port โดยใช้หัวต่อที่เป็น DB-25 หรือ DB-9 ต่อกับ Com1, Com2 หรือ USB ข้อดีคือ สามารถเคลื่อนย้ายไปใช้กับเครื่องอื่นได้ ติดตั้งได้ง่าย ไม่เพิ่มความร้อนให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากติดตั้งอยู่ภายนอกและใช้แหล่งจ่ายไฟภายนอก สามารถใช้ งานกับเครื่อง NoteBook ได้เนื่องจากต่อกับ Serial Port หรือ Parallel Port มีไฟแสดง สภาวะการทำงานของโมเด็ม ข้อเสีย มีราคาค่อนข้างสูง เกิดปัญหาจากสายต่อได้ง่าย ในการเลือกใช้จึงต้องดูหลายประการเช่น ความสะดวกในการใช้งาน คอมพิวเตอร์ เป็นรุ่นเก่า ก็ควรใช้แบบ internal และหากมีแต่ Slot ISA ก็ต้องเลือกแบบ ISA Internal หากต้องการเคลื่อนย้ายไปใช้กับ เครื่องอื่นอยู่เรื่อยก็ต้องใช้แบบภายนอก หากให้สะดวกก็ควรเป็น แบบ Internal ครับจะได้ความไวที่ โดยมากจะสูงกว่าแบบภายนอก มีปัจจัยหลายอย่างในการเลือกต้องดูด้วยว่า ISP (Internet Service Provider) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่คุณใช้นั้นรองรับ มาตรฐาน V.90 ข้อเสียของโมเด็มรุ่นใหม่ ๆ ที่มีราคาถูกที่เป็น Internal PCI คือผู้ผลิดเขาจะตัดชิพที่ ทำหน้าที่ ตรวจสอบความผิดพลาด แก้ไขสัญญาณรบกวน (Error Correction) ที่มีมาก ในสายโทรศัพท์ในบางที่ แล้วไปใช้ความสามารถของซีพียูมาทำหน้าที่นี้แทน ทำให้เกิดการใช้ งานซีพียูเพิ่มมากขึ้นทำให้ความเร็วของ เครื่องลดลง หรือสัญญาณโทรศัพท์อาจตัดหรือ เรียกว่าสายหลุดได้ สำหรับคุณสมบัติ ที่ควรมีของโมเด็มคือ DSVD ที่ทำให้โมเด็มสามารถส่งผ่าน ข้อมูล Voice และ Data ได้ในขณะเดียวกันได้โดยความ เร็วไม่ลดลง และดูสิ่งที่ให้มาด้วยเช่น ซอฟท์แวร์ต่าง ๆ รวมทั้งดูว่าสามารถใช้อ่านอื่น ๆ ได้เช่น Fax, Voice, Mail และ Call ID เป็นต้น 

https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRDvL5Ea__fYli0d-fbPTDSpv-hZDtgjw865hveIzlOenpg9yfLGw
External Modem


PCMCIA

เป็น Card ที่ใช้งานเฉพาะ โดยใช้กับ Notebook เป็น Card เสียบเข้าไปในช่องสำหรับเสียบ Card โดยเฉพาะสะดวกในการพกพา ในปัจจุบัน Modem สำหรับ Notebook จะติดมาพร้อมกันอยู่แล้วทำให้ความนิยมในการใช้ Card Modem ชนิดนี้ลดน้อยลง 

ปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการใช้โมเด็มในการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ต มีดังนี้

1. คุณภาพของสายทองแดง ระยะทางยาว การต่อสาย หรือหัวต่อต่าง ๆ ทำให้มีปัญหาต่อสัญญาณรบกวน
2. ไม่ควรใช้สายพ่วง เพราะการพ่วงสายจะทำให้อิมพีแดนซ์ของสายลดต่ำลง และจะมีปัญหาได้ขณะใช้งานถ้ามีคนยกหูโทรศัพท์เครื่องพ่วงสายจะหลุดทันที
3. ต้องไม่เปิดบริการเสริมใด ๆ สำหรับสายที่ใช้โมเด็ม เช่น เปิดให้มีสายเรียกซ้อน การรับสัญญาณอื่นขณะใช้โมเด็มจะทำให้การเชื่อมโยงหยุดทันที
4. หากชุมสายที่บ้านเชื่อมอยู่ต้องผ่านหลายชุมสาย หรือต้องผ่านระหว่างเครือข่ายของบริษัทบริการโทรศัพท์
5. คุณภาพของโมเด็มที่ใช้ ปัจจุบันมีโมเด็มที่ผลิตหลากหลาย และมีคุณภาพแตกต่างกัน การแปลงสัญญาณอาจมีข้อแตกต่าง

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

COMPUTER TERMINOLOGY


บทที่ 3
คำศัพท์
คำอ่าน
คำแปล
1
Polling
โฟล-ลิ้ง
การลงคะแนนเลือกตั้ง
2
Interrupt
อิน-เทอ-หลุด
ขัดขวาง
3
Mailbox
เมล-บล็อก
ตู้จดหมาย
4
Protection Test Unit
โฟ-เทค-ชั่น-เทส-บยู-นิต
ผลการทดสอบหน่วยความ
5
Interface
อิน-เตอร์-เฟซ
ติดต่อ
6
Processor
โฟ-เสต
หน่วยประมวลผล
7
Control
คอน-โทล
การควบคุม
8
Test
เทส
ทดสอบ
9
Unit
ยู-นิต
หน่วย
10
Logic
โล-จิก
ตรรกะ

บทที่ 4
คำศัพท์
คำอ่าน
คำแปล
1
Store
สะ-โตล
เก็บ
2
Program
โปร-แกรม
โครงการ
3
Concept
คอน-เซป
แนวคิด
4
Random Access Memory
เรน-ดอม-แอค-เสต-เมม-เม-รี
แรม
5
Read Only Memory
รี้ด-ออล-ลี-เมม-เม-รี
รอม
6
Memory Stick
เมม-เม-รี-สะ-ติก
หน่วยความจำขนาดเล็ก
7
Memory
เมม-เม-รี
หน่อยความจำ
8
Static
สะ-เตก-ดิส
คงที่
9
Fast
ฟาส
รวดเร็ว
10
Output
เอาท์-พุต
ส่งออก


บทที่ 5
คำศัพท์
คำอ่าน
คำแปล
1
Hard Disk
ฮาร์ด-ดิสก์
ฮาร์ดดิสก์
2
Aluminum
อะ-ลู-มิ-นัม
อลูมิเนียม
3
Alloy
เอ-โล
โลหะผสม
4
Patter
เพล-เตล
เสียงกุกกัก
5
Sector
เซก-เตอร์
ภาค
6
Cylinder
ซาย-แรน-เดอร์
กระบอกสูบ
7
Clusters
คัล-เตอร์
เครือข่ายวิสาหกิจ
8
Format
ฟอ-แมต
จัดรูปแบบ
9
Random
แรน-ดอม
สุ่ม
10
Seek Time
ชีก-ทาม
ขอเวลา