โปรแกรมปรับแต่งเสียงเพลง
เรียกเข้าโทรศัพท์มือถือ หรือจะตัดต่อ มิกซ์เสียงด้วยตัวเอง ใช้งานง่าย
แถมยังเป็นฟรีโปรแกรมประเภท Open Source ที่ดีที่สุดตัวหนึ่ง
และนิยมใช้งานมากที่สุดตัวหนึ่งด้วย โปรแกรมนี้ยังได้รับการกล่าวขานว่าเป็นโปรแกรมการใช้งานทางด้านตัดต่อเสียงดีที่สุดตัวหนึ่ง
อาจมาจากเหตุผลที่ใช้งานง่ายก็เป็นได้
คุณสมบัติของ Audacity
- ฟรีโปรแกรม Open Source ใช้งานได้ฟรี ไม่มีลิมิต
- รองรับการใช้งานระบบปฏิบัติการทั้ง Windows,
Mac OS, Linux/Unix
- รองรับการ import ไฟล์ MP3, OOG, Wave และอื่นๆ
อีก
- รองรับการบันทึกเป็น MP3 แต่ต้องติดตั้งโปรแกรมฟรี เพิ่มเติมคือ LAME MP3
Encod บันทึก Live Audio
- รองรับการ cut, copy, splice รวมทั้งการ mix เสียงด้วย
-
ปรับแต่งความเร็วของเสียงได้
-
ความสามารถเพิ่มเติมด้วย Plug-ins
- สนใจ download Audactiy ขนาดไฟ
ทำความรู้จัก Audacity ก่อนเริ่มต้นใช้งาน
ทำความรู้จัก
Control
Tool Bar หมายถึง เครื่องมือที่ช่วยในการตัดต่อ ปรับแต่งเสียง
รวมทั้งมีปุ่มที่ใช้ในการทดสอบไฟล์เสียงหลังการตัดต่ออีกด้วย สำหรับปุ่มหลักๆ
ที่ใช้ในการปรับแต่งเสียงมีดังนี้
Selection
Tools - ใช้สำหรับเลือกช่วงของ wave ที่ต้องการ
เพียงแค่คลิกบริเวณ wave และลากคลุมไปทางซ้ายหรือขวาตามต้องการ
Envelope
Tool - เวลาที่ต้องการลดระดับเสียง ให้ความดังลดลง หรือเพิ่มขึ้น
เราสามารถคำสั่งนี้ได้
Draw
Tool - ใช้คู่กับ Zoom Tool เพื่อปรับแต่งความลึก
Zoom
Tool - ย่อ ขยายในส่วนของ wave เพื่อให้ดูและแก้ไขได้สะดวก
Time
Shift - สำหรับย้ายตำแหน่งของเสียง เช่น
เรามีไฟล์เสียงด้านบนและล่าง แต่ต้องการให้ด้านล่างเลื่อนถัดไปก่อเป็นต้น
Multi
Tool - รวมคำสั่งทุกอย่างอยู่ในตัวเดียวกัน
ขึ้นกับเราว่าจะเลือกในส่วนไหน
เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจปุ่มต่างๆ
ข้างต้น ทั้งนี้เพื่อให้สามารถแก้ไขปรับแต่งไฟล์เสียงได้สะดวก
ซึ่งคำสั่งที่มักใช้เป็นประจำคือ Selection Tools และคำสั่ง Envelope
วิธีใช้งานเบื้องต้นของโปรแกรม
Audacity
1.
เปิดโปรแกรม Audacity

2.คลิกเมนู
File
เลือกคำสั่ง Open

3.เลือกไฟล์
Aiff,
MP3, Wav หรือ OGG เพื่อเปิด File ที่ต้องการตัด

4. คลิกเครื่องมือ Selection Tools คลิกบริเวณ wave และลากไปทางซ้ายหรือขวา (เลือกช่วงของเสียง) ลองคลิกปุ่ม Play จะสังเกตเห็นว่า
โปรแกรมจะเล่นเสียงเฉพาะที่เลือกเล่น เท่านั้น
ทิปสำคัญ
ทำไมบางครั้งโปรแกรมไม่สามารถใช้งานบางคำสั่งได้ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากสาเหตุ
เรามีการสั่งของเล่นไฟล์เสียงอยู่ และยังไม่ได้สั่ง stop
(รูปสี่เหลี่ยมในส่วนของการเล่นไฟล์เสียง)

5. คลิกที่่
Trim เพื่อตัดให้เหลือในช่วงที่เราต้องการ แล้วกด save เพื่อนบันทึกงาน

ปรับแต่งระดับเสียงด้วย
Envelope
Tool
ภาพรวมการใช้งานของคำสั่ง
Envelope
Tool คือ การเลือกจุดของตำแหน่งที่ต้องการเพิ่มหรือลดเสียง
จากนั้นเพียงคลิกและลากขึ้น (เพิ่มความดังของเสียง) หรือ ลากลง
(เพื่อลดความดังของเสียง) เราสามารถเพิ่มจุดของเสียงได้โดยการคลิกทีตำแหน่งที่ต้องการอีกครั้ง
วิธีการใช้งาน
Envelope
Tool

เปิดไฟล์เสียงที่ต้องการ
คลิกเลือกคำสั่ง
Envelope
Tool
สัญลักษณ์ของเมาส์จะเปลี่ยนเป็นรูปของคำสั่ง
Envelope
Tool
เลื่อนเมาส์ไปยังตำแหน่งของ
wave
ที่เราต้องการปรับแต่ง
คลิกหนึ่งครั้ง
จะสังเกตเห็นมีจุดขาวเพิ่มขึ้น ณ ตำแหน่งของจุดขาว เราสามารถคลิกลากขึ้น
หรือลากลงได้
ทดสอบโดยการเล่นไฟล์เสียง
(ปุ่ม สามเหลี่ยมสีเขียว)
อีกหนึ่งวิธีในการปรับแต่งเสียง
การรวมเสียงหลายๆ
เสียงเข้าด้วยกัน เป็นอีกสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการใช้งานโปรแกรม Audacity
ที่เราควรทราบไว้ ตัวอย่างการนำไปใช้ประโยชน์ นั่นคือ การรวมเพลงแบบ
non-stop ที่เราสามารถทำเองได้อย่างไม่ยากเกินไปนัก
เพียงเราแค่เลือกเพลงที่ต้องการต่อเพลงกัน และนำมารวมเข้าด้วยกัน
แต่ระหว่างเพลงที่เชื่อมกัน (คาบเกี่ยวกัน)
ควรทำการลดเสียงเพื่อความกลมกลืนของเสียงเพลง
วิธีการรวมเสียงหลายเสียงเข้าด้วยกัน
1. เปิดโปรแกรม Audacity และเลือกคำสั่ง File
2. คลิกคำสั่ง Open
และเลือกไฟล์ MP3 ที่ต้องการ
3. คลิกเมนู Project
4. เลือกคำสั่ง Audio
และเลือกไฟล์ MP3 อีกหนึ่งไฟล์
5. ถ้าเราต้องการเลือกตำแหน่งของเสียงที่ 2
ให้ไปอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกับนจบของเสียงที่ 1 ให้กดปุ่ม Time
Shift Tool
6. จากนั้นให้คลิกที่เสียงที่ 2
และลากไปยังตำแหน่งที่ต้องการ (จะเห็นว่า เราสามารถเคลื่อนย้ายเสียงได้ทั้งหมด)
ถ้าจะให้ดี
ระหว่างเสียงที่ 1 และ 2 ควรทำการ fade เสียงให้เบาลงก่อน
จะได้เสียงที่เนียนมากยิ่งขึ้น
อีกคำสั่งที่มีความสำคัญมากคือ การตัดเสียงบางช่วงออก
ซึ่งเราสามารถใช้คำสั่ง Cut ได้
คำสั่งในการตัดเสียง
(Cut)
1. เปิดโปรแกรม Audacity และเลือกคำสั่ง File
2. คลิกคำสั่ง Open
และเลือกไฟล์ MP3 ที่ต้องการ
3. คลิกเลือกคำสั่ง Selection
Tool
4. คลิกเลือกคลุมช่วงเสียงที่ต้องการ
5. คลิกคำสั่ง Cut
หรือคลิกเมนู Edit และเลือกคำสั่ง Cut ก็ได้เช่นกัน
Ulead Video Studio
มีการทำงานเป็นขั้นตอนที่ง่าย ตั้งแต่จับภาพ
ตัดต่อไปจนถึงเขียนลงแผ่น นอกจากนี้แล้ว โปรแกรมยังมีเอ็ฟเฟ็กต์ต่างๆ อีกมากมาย
ไตเติ้ลสำเร็จรูปแบบมืออาชีพ
รวมทั้งยังมีเครื่องมือที่ใช้สำหรับสร้างซาวนด์แทร็คอย่างง่ายๆ อีกด้วย
ในการสร้างวีดีโอนั้น
เริ่มแรกจับภาพวีดีโอจากกล้องหรือว่าดึงไฟล์วีดีโอจากแผ่น VCD/DVD เข้ามา
จากนั้นก็ตัดแต่งวีดีโอที่จับภาพมา เรียงลำดับเหตุการณ์ ใส่ทรานสิชั่น (transtion
- เอ็ฟเฟ็กต์ที่ใส่ระหว่างคลิปวีดีโอ
ทำให้การเปลี่ยนคลิปวีดีโอจากคลิปหนึ่งไปยังอีกคลิปหนึ่งน่าดูยิ่งขึ้น)
ทำภาพซ้อนภาพ ใส่ไตเติ้ล ใส่คำบรรยาย แทรกดนตรีประกอบ ซึ่งส่วนต่างๆ
เหล่านี้จะแยกแทร็คกัน การทำงานในแต่ละแทร็คจะไม่มีผลกระทบกับกับแทร็คอื่นๆ
เมื่อทำเสร็จแล้วขั้นตอนสุดท้ายก็คือ การเขียนวีดีโอลงแผ่น
การตัดต่อใน Ulead นั้น จะสร้างเป็นไฟล์ project ขึ้นมา (.VSP) ซึ่งไฟล์นี้จะเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้ หากว่าทำงานยังไม่เสร็จก็สามารถเปิดเพื่อทำงานต่อในภายหลังได้
ไฟล์นี้จะมีขนาดเล็ก การตัดต่อวีดีโอนี้ แม้จะตัดต่ออย่างไรในวีดีโอ
ก็จะไม่มีผลกระทบต่อไฟล์ต้นฉบับ ข้อมูลการตัดต่อต่างๆ จะบันทึกอยู่ในไฟล์ project
ทั้งหมด แต่เมื่อมีการสร้างวีดีโอที่ได้จากการตัดต่อ โปรแกรมอ่านข้อมูลจากต้นฉบับตามข้อมูลที่อ้างอิงในไฟล์
project นี้
ขอบคุณ: ครูพิมล
ทองเหลือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคใต้
·
ระบบวิธีการเผยแพร่
ในปัจจุบันโทรทัศน์นับได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกบ้านทุกครอบครัว
ไม่ว่าจะร่ำรวยหรือยากจนจะต้องมีไว้เพื่อรับชมข่าวสาร ละคอน หรือรายการบันเทิง
ต่างๆ แต่คุณรู้หรือไม่ว่าภาพและเสียงที่คุณได้ดูได้รับชมอยู่นั้น
เกิดขึ้นได้อย่างไร
มีความเป็นมาและมาปรากฏที่เครื่องรับโทรทัศน์ที่บ้านคุณได้อย่างไร
ภาพที่คุณเห็นจากเครื่องรับโทรทัศน์ในแต่ละภาพจะประกอบด้วยจุดที่มีความเข้ม แตกต่างกันหลายร้อยหลายพันจุด ถ้าคุณเอารูปภาพมา 1 แผ่น แล้วเอากรรไกรตัดภาพออกเป็นแถบเล็ก ๆ ตามแนวราบจะเห็นว่าในแต่ละแถบจะประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ ที่มีความเข้มมากน้อยต่างกันเรียงเป็นแถว ถ้านำแต่ละแถบมาประกอบเข้าด้วยกันตามลำดับเดิม จะเกิดเป็นภาพมีลักษณะเหมือนภาพเดิมได้ การส่งสัญญาณโทรทัศน์ ก็ใช้หลักเดียวกัน คือจะส่งภาพ ไปทีละจุด จากซ้ายไปขวา และจากส่วนบนไปส่วนล่าง โดยเปลี่ยนแต่ละจุดของภาพเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า ผสมเข้ากับคลื่นวิทยุความถี่สูงในระบบเอเอ็ม แล้วส่งออกไปในอากาศในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ส่วนเสียงนั้นก็ส่งไปในระบบเอฟเอ็ม ทำนองเดียวกับการส่งวิทยุโดยใช้คลื่นที่มีความถี่อยู่ในช่อง(Channel) เดียวกัน แต่ละช่องจะมีย่านความถี่กว้างประมาณ 6 เมกกะเฮิร์ท ช่อง 2-6 อยู่ในช่วงความถี่ 54-86 เมกกะเฮิร์ทและช่อง 7-13 อยู่ในช่วง174-216 เมกกะเฮิร์ท ภาพแต่ละภาพระบบเดิมประกอบด้วย 525 เส้น แต่ปัจจุบันใช้ 625 เส้น เพื่อให้ได้ภาพนิ่มนวลกว่าเดิม และใน 1 วินาที สามารถส่งภาพได้ถึง 30 ภาพ อุปกรณ์ที่สำคัญในการส่งภาพ คือ หลอดส่งภาพ (Camera Tube) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของกล้องถ่ายโทรทัศน์ เป็นหลอดสูญญากาศ
ภาพที่คุณเห็นจากเครื่องรับโทรทัศน์ในแต่ละภาพจะประกอบด้วยจุดที่มีความเข้ม แตกต่างกันหลายร้อยหลายพันจุด ถ้าคุณเอารูปภาพมา 1 แผ่น แล้วเอากรรไกรตัดภาพออกเป็นแถบเล็ก ๆ ตามแนวราบจะเห็นว่าในแต่ละแถบจะประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ ที่มีความเข้มมากน้อยต่างกันเรียงเป็นแถว ถ้านำแต่ละแถบมาประกอบเข้าด้วยกันตามลำดับเดิม จะเกิดเป็นภาพมีลักษณะเหมือนภาพเดิมได้ การส่งสัญญาณโทรทัศน์ ก็ใช้หลักเดียวกัน คือจะส่งภาพ ไปทีละจุด จากซ้ายไปขวา และจากส่วนบนไปส่วนล่าง โดยเปลี่ยนแต่ละจุดของภาพเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า ผสมเข้ากับคลื่นวิทยุความถี่สูงในระบบเอเอ็ม แล้วส่งออกไปในอากาศในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ส่วนเสียงนั้นก็ส่งไปในระบบเอฟเอ็ม ทำนองเดียวกับการส่งวิทยุโดยใช้คลื่นที่มีความถี่อยู่ในช่อง(Channel) เดียวกัน แต่ละช่องจะมีย่านความถี่กว้างประมาณ 6 เมกกะเฮิร์ท ช่อง 2-6 อยู่ในช่วงความถี่ 54-86 เมกกะเฮิร์ทและช่อง 7-13 อยู่ในช่วง174-216 เมกกะเฮิร์ท ภาพแต่ละภาพระบบเดิมประกอบด้วย 525 เส้น แต่ปัจจุบันใช้ 625 เส้น เพื่อให้ได้ภาพนิ่มนวลกว่าเดิม และใน 1 วินาที สามารถส่งภาพได้ถึง 30 ภาพ อุปกรณ์ที่สำคัญในการส่งภาพ คือ หลอดส่งภาพ (Camera Tube) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของกล้องถ่ายโทรทัศน์ เป็นหลอดสูญญากาศ
ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์
ในปัจจุบันนี้มีระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่นิยมใช้ในแถบภูมิภาคต่างๆ คือ
ในปัจจุบันนี้มีระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่นิยมใช้ในแถบภูมิภาคต่างๆ คือ
1.ระบบ NTSC (National Televion Standards Committee) เป็นระบบโทรทัศน์สีระบบแรกที่ใช้งานในประเทศสหรัฐอเมริกา
ตั้งแต่ปีค.ศ.1953 ประเทศที่ใช้ระบบนี้ต่อ ๆ มาได้แก่
ญี่ปุ่น แคนาดา เปอเตอริโก้ และเม็กซิโก เป็นต้น
2.ระบบ PAL (Phase Alternation Line) เป็นระบบโทรทัศน์ที่พัฒนามาจากระบบ
NTSC ทำให้มีการเพี้ยนของสีน้อยลง
เริ่มใช้งานมาตั้งแต่ปีค.ศ.1967 ในประเทศทางแถบยุโรป คือ
เยอรมันตะวันตก อังกฤษ ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม บราซิล เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน
สวิตเซอร์แลนด์ และมีหลายประเทศในแถบเอเซียที่ใช้กันคือ สิงคโปร์ มาเลเซีย
รวมไปถึงประเทศไทยก็ใช้ระบบนี้
3.ระบบ SECAM (SEQuentiel A Memoire("memory sequential"))
เป็นระบบโทรทัศน์อีกระบบหนึ่งคิดค้นขึ้นโดย Dr.Henry
D.France เริ่มใช้มาตั้งแต่ปีค.ศ.1967 นิยมใช้กันอยู่หลายประเทศแถบยุโรปตะวันออก
ได้แก่ ฝรั่งเศส อัลจีเรีย เยอรมันตะวันออก ฮังการี ตูนีเซีย รูมาเนีย และรัสเซีย*
เป็นต้น
*ระบบ SECAM ที่รัสเซียใช้มี 625 เส้น
*ระบบ SECAM ที่รัสเซียใช้มี 625 เส้น
คุณภาพของระบบโทรทัศน์สีในระบบต่างๆ
1.ระบบ NTSC เป็นระบบที่มีข้อดี คือ
สามารถมองเห็นภาพได้ 30 ภาพ/วินาที (ระบบอื่นมองเห็นได้ 25
ภาพ/วินาที) ทำให้การสั่นไหวของภาพลดน้อยลง
และเนื่องจากสัญญาณภาพใช้ความกว้างของคลื่นสัญญาณน้อย ทำให้ภาพถูกรบกวนน้อย
ภาพที่ได้รับจึงมีความคมชัดมากขึ้น ส่วนข้อเสีย
นั้นเกิดจากการที่เส้นสแกนภาพมีจำนวนน้อย
หากใช้จอภาพเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีขนาดใหญ่รับภาพจะทำให้รายละเอียดภาพมี น้อย
ดังนั้นภาพจึงขาดความคมชัดและถ้าใช้เครื่องรับโทรทัศน์ขาว-ดำ สัญญาณสีที่ความถี่ 3.58
MHz จะเกิดการรบกวนสัญญาณขาว-ดำ ทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของสี
วิธีแก้ไข ต้องปรับแก้
ที่เครื่องรับโทรทัศน์ เพื่อให้ได้ภาพเป็นธรรมชาติ ซึ่งต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวของผู้รับชมปรับแต่งสีให้ภาพได้ดี
ที่เครื่องรับโทรทัศน์ เพื่อให้ได้ภาพเป็นธรรมชาติ ซึ่งต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวของผู้รับชมปรับแต่งสีให้ภาพได้ดี
2.ระบบ PAL เป็นระบบที่ให้รายละเอียดของภาพสูง
ไม่มีความผิดเพี้ยนของสี ภาพที่ได้เป็นธรรมชาติ ความเข้มของภาพสูง (High
Contrast) ดีกว่าระบบ NTSC แต่มีข้อเสียคือภาพที่มองเห็นมีความสั่นไหวมากกว่าระบบ
NTSC เนื่องจากภาพที่มองเห็น 25 ภาพ/วินาทีถูกรบกวนสัญญาณ
ภาพสูง สาเหตุเพราะมีความกว้างของสัญญาณภาพมากกว่า (Higher Bandwidth)ระบบ NTSC จุดอิ่มตัวความสว่างของสีน้อย(reduce
the color saturation)ทำให้เห็นความสว่างของสีน้อยลง
3.ระบบ SECAM เป็นระบบที่ไม่มีความผิดเพี้ยนของสี
รายละเอียดของภาพมีคุณภาพสูงเทียบเท่ากันระบบ PAL ข้อเสีย
ภาพจะมีการสั่นไหวเหมือนระบบ PALส่วนการตัดต่อภาพในระบบนี้ไม่สามารถทำได้
ซึ่งในการผลิตรายการโทรทัศน์ส่วนมากใช้ระบบ PAL และเมื่อผลิตเสร็จแล้วจึงเปลี่ยนกลับไปเป็นระบบ
SECAM แล้วจึงส่งออกอากาศและเนื่องจากความกว้างของคลื่นสัญญาณมีน้อย
จึงทำให้เกิดคลื่นความถี่สัญญาณสีรบกวนภาพ (Patterning Effects) จึงทำให้ภาพเกิดมีสีรบกวนในขณะรับชมรายการได้
ระบบโทรทัศน์สีที่ใช้งานทั่วโลก ในระบบแอนะล็อกยังมีการแบ่งย่อยจากระบบใหญ่ๆทั้ง 3 ระบบดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมของกระแสไฟฟ้าที่แต่ละประเทศใข้งาน และความเหมาะสม กับประเทศที่ใช้งานกำหนดโดยสหภาพวิทยุโทรคมนาคม (ITU) เช่นกระแสไฟฟ้า 60 Hz จะใช้ระบบสัญญาณโทรทัศน์สี Field frequency 60 Hz และกระแสไฟฟ้า 50 Hz จะใช้ระบบสัญญาณโทรทัศน์สี Field frequency 50 Hz ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันความถี่ของกระแสไฟฟ้าที่ใช้รบกวนสัญญาณภาพ
ระบบโทรทัศน์สีที่ใช้งานทั่วโลก ในระบบแอนะล็อกยังมีการแบ่งย่อยจากระบบใหญ่ๆทั้ง 3 ระบบดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมของกระแสไฟฟ้าที่แต่ละประเทศใข้งาน และความเหมาะสม กับประเทศที่ใช้งานกำหนดโดยสหภาพวิทยุโทรคมนาคม (ITU) เช่นกระแสไฟฟ้า 60 Hz จะใช้ระบบสัญญาณโทรทัศน์สี Field frequency 60 Hz และกระแสไฟฟ้า 50 Hz จะใช้ระบบสัญญาณโทรทัศน์สี Field frequency 50 Hz ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันความถี่ของกระแสไฟฟ้าที่ใช้รบกวนสัญญาณภาพ
ระบบสัญญาณโทรทัศน์สีที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
มีคุณภาพสัญญาณที่ดีไม่พบข้อเสีย
ดังนั้นในการพิจารณาใช้งานระบบใดระบบหนึ่งก็อาจมีสาเหตุ มาจากเหตุผลอื่นๆ เช่น
เหตุผลทางด้านเศรษฐกิจการลงทุนในการผลิต
และการใช้เครื่องรับโทรทัศน์เป็นจำนวนมากแล้วถ้าหากจะเปลี่ยนระบบอาจต้องลง ทุนสูง
เหตุผลทางด้านการเมือง
อาจได้รับการสนับสนุนจากประเทศมหาอำนาจให้ใช้ระบบใดระบบหนึ่ง
บทสรุป
สัญญาณโทรทัศน์สีในระบบต่างๆที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีหลักการออกแบบคล้ายกัน คือ
การส่งโทรทัศน์สีจะต้องทำให้เครื่อรับโทรทัศน์ขาว-ดำและเครื่องรับโทรทัศน์ สีรับสัญญาณได้
โดยสัญญาณที่ส่งออกอากาศจะต้องเป็นสัญญาณเดียวกัน
ส่วนคุณภาพของภาพโทรทัศน์นั้นขึ้นอยู่กับข้อจำกัดทางเทคนิคการกำหนดภาพที่
เหมาะสมมี 2 ระบบหลักคือ 25
ภาพ/วินาที และ 30 ภาพ/วินาที
สัญญาณโทรทัศน์สีในระบบแอนะล็อกนี้จะถูกเปลี่ยนเข้ารหัสเป็นระบบดิจิทัลก่อนที่จะส่งเป็นสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัล
ซึ่งในเรื่องนี้จะนำมานำเสนอในคราวต่อไป
ข้อคิด "หน้าที่ของช่างเทคนิคงานโทรทัศน์ จะต้องทำให้สัญญาณโทรทัศน์มีคุณภาพดี ภาพชัดเจน แต่ความรู้ความสามารถในการทำงาน จะต้องเกิดจากความมุ่งมั่นทำงานและได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา"
ที่มา : วีระศักดิ์ เชิงเชาว์ วารสารกรมประชาสัมพันธ์ หน้า18 - 21 ปีที่ 11 ฉบับที่ 126
ประจำเดือนมิถุนายน 2549
·
คุณสมบัติของไฟล์วีซีดี
คุณสมบัติของไฟล์วิดีโอ และภาพยนต์
1.
Frame Rate คือความเร็วในการแสดงภาพเคลื่อนไหวต่อหนึ่งหน่วยเวลา
มีหน่วยเป็นเฟรมต่อวินาที
โดยอัตราการเคลื่อนไหวที่จะเป็นภาพยนต์ได้นั้นควรมีค่าขั้นต่ำตั้งแต่ 7-10
fps ค่าเฟรมเรท ขึ้นอยู่กับระบบของภาพยนต์ และระบบวิดีโอต่าง ๆ
ดังนี้
ระบบต่าง ๆ
|
Frame Rate ( fps)
|
|
ฟิมล์มภาพยนต์ทั่วไป
|
24
|
|
วิดีโอ ระบบ NTSC
|
29.79
|
|
วิดีโอ ระบบ PAL
|
25
|
|
วิดีโอ ระบบ SECAM
|
25
|
|
CD-ROM และ เว็บไซต์
|
15
|
|
งาน 3D
Animation
|
30 (non-Drop Frame)
|
รูปแบบของไฟล์ วิดีโอ ประเภทต่าง ๆ
ไฟล์วิดีโอมีอยูหลายรูปแบบ แต่ที่รู้จักกันดีมีดังนี้
ประเภท
|
คุณสมบัติ
|
|
1. Avi
|
เป็นไฟล์มาตรฐานของไฟล์ วิดีโอ ทั่วไป มีความคมชัดสูง
แต่จุดด้อยคือ ไฟล์มีขนาดใหญ่(ความจุสูง)
|
|
2. Mpeg
|
คือรูปแบบของไฟล์ วิดีโอ ที่ถูกบีบอัด แบบหนึ่ง
ได้รับความนิยมมาก ข้อดีคือไฟล์มีขนาดเล็ก เลือกความคมชัดได้หลายแบบ เช่น
|
|
mpeg-1
|
เป็นไฟล์ที่นิยมทำใน วีซีดี เป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็กที่สุด
|
|
mpeg-2
|
เป็นไฟล์ที่นิยมทำ ดีวีดี เป็นไฟล์ขนาดใหญ่มีความคมชัดสูง
เมื่อเทียบกับตระกูล เอ็มเพ็ก ด้วยกัน
|
|
mpeg-4
|
เป็นไฟล์ที่กำลังได้รับความนิยม มีคุณภาพเทีบเคียง ดีวีดี
แต่มีขนาดเล็ก เหมาะกับการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต
|
|
3. WMA
|
เป็นรูปแบบไฟล์มาตรฐาน บนระบบ Windows นิยมเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต
|
|
4. RM
|
เป็นรูปแบบของไฟล์โปรแกรม RealOne
Player นิยมเผยแพร่กันบนอินเทอร์เน็ต
|
|
5. MOV
|
เป้นรูปแบบของไฟล์ โปรแกรม Quicktime
ผลิตเพื่อใช้กับเครื่อง Apple แต่เปิดบนระบบ
Windows ได้เช่นกัน
|
·
เริ่มต้นการใช้งาน
เมื่อเปิดโปรแกรม
จะปรากฏหน้าจอให้เลือกโหมดในการตัดต่อวีดีโอดังต่อไปนี้
- DV-to-DVD
Wizard เป็นการจับภาพจากกล้องวีดีโอ ใส่ธีม
แล้วก็เขียนเป็น DVD
- Movie Wizard เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มตัดต่อวีดีโอ จะมีขั้นตอนแนะนำตั้งแต่เริ่มจับภาพ/นำไฟล์วีดีโอเข้ามา เลือกเทมเพลต แล้วก็เขียนวีดีโอลงแผ่น ด้วยขั้นตอนอย่างง่ายๆ หรือจะนำวีดีโอที่ได้ไปตัดต่อกับ VideoStudio Editor ก็ได้อีกเช่นกัน
- VideoStudio Editor โหมดนี้ให้คุณได้ใช้คุณลักษณะการตัดต่อวีดีโอของ Ulead ได้อย่างเต็มที่ เรียกได้ว่ามีเครื่องมือครบทุกอย่างในการสร้างแผ่น VCD/DVD จากกล้องวีดีโอดิจิตอล เริ่มตั้งแต่ จับภาพ/เพิ่มคลิปวีดีโอ ใส่เอ็ฟเฟ็กต์ ใส่ตัวหนังสือ ทำภาพซ้อน ใส่คำบรรยาย ดนตรีประกอบ ไปจนถึงเขียนวีดีโอลงบนแผ่น CD/DVD หรือนำไฟล์ไปเผยแพร่บนเว็บ
- Movie Wizard เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มตัดต่อวีดีโอ จะมีขั้นตอนแนะนำตั้งแต่เริ่มจับภาพ/นำไฟล์วีดีโอเข้ามา เลือกเทมเพลต แล้วก็เขียนวีดีโอลงแผ่น ด้วยขั้นตอนอย่างง่ายๆ หรือจะนำวีดีโอที่ได้ไปตัดต่อกับ VideoStudio Editor ก็ได้อีกเช่นกัน
- VideoStudio Editor โหมดนี้ให้คุณได้ใช้คุณลักษณะการตัดต่อวีดีโอของ Ulead ได้อย่างเต็มที่ เรียกได้ว่ามีเครื่องมือครบทุกอย่างในการสร้างแผ่น VCD/DVD จากกล้องวีดีโอดิจิตอล เริ่มตั้งแต่ จับภาพ/เพิ่มคลิปวีดีโอ ใส่เอ็ฟเฟ็กต์ ใส่ตัวหนังสือ ทำภาพซ้อน ใส่คำบรรยาย ดนตรีประกอบ ไปจนถึงเขียนวีดีโอลงบนแผ่น CD/DVD หรือนำไฟล์ไปเผยแพร่บนเว็บ
Tip : หากคลิกที่ปุ่ม 16:9 จะเป็นการสร้างโครงการของคุณเป็นแบบ
widescreenในที่นี้จะสอนเฉพาะการใช้งานแบบ VideoStudio
Editor เท่านั้น เมื่อเลือกรายการ VideoStudio Editor แล้วก็สามารถสลับไปยังรายการอื่นๆ ได้โดยเลือกรายการจากเมนู Tools
·
Step Panel
ส่วน นี้เป็นส่วนของขั้นตอนต่างๆ ในการตัดต่อวีดีโอ
ขั้นตอนเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องทำทุกขั้นตอน หรือข้ามขั้นตอนใดก็ได้
ขึ้นอยู่กับการตัดต่อวีดีโอของคุณเอง
ขั้นตอนตัดต่อคือ
1.
Capture (จับภาพจากกล้อง/ดึงข้อมูลวีดีโอจากแผ่น CD/DVD)
2.
Edit (แก้ไข/ตัดต่อ)
3.
Effect (ใส่เอ็ฟเฟ็กต์)
4.
Overlay (ทำภาพซ้อน)
5.
Title (ใส่ตัวหนังสือ)
6.
Audio (ใส่ดนตรีประกอบ/บันทึกเสียงบรรยาย)
7.
Share (บันทึกวีดีโอที่ตัดต่อแล้ว ลงสื่อต่างๆ)
ขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น สามารถข้ามไปยังส่วนอื่นได้
เช่น อาจจะไปใส่ดนตรีประกอบก่อน แล้วมาใส่ตัวหนังสือภายหลังก็ได้
หรือเมื่อตัดต่อเสร็จในข้อ 2 แล้วก็อาจจะไปเลือกข้อ 7 เพื่อเขียนลงแผ่นก็ได้
ไม่จำเป็นต้องทำครบทุกขั้นตอน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคุณจะตัดต่อวีดีโออย่างไร
และต้องทำอะไรบ้างในการตัดต่อ
ขั้นตอนต่างๆ ในการตัดต่อวีดีโอ
·
Step Panel
ส่วน นี้เป็นส่วนของขั้นตอนต่างๆ ในการตัดต่อวีดีโอ
ขั้นตอนเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องทำทุกขั้นตอน หรือข้ามขั้นตอนใดก็ได้
ขึ้นอยู่กับการตัดต่อวีดีโอของคุณเอง
ขั้นตอนตัดต่อคือ
1.
Capture (จับภาพจากกล้อง/ดึงข้อมูลวีดีโอจากแผ่น CD/DVD)
2.
Edit (แก้ไข/ตัดต่อ)
3.
Effect (ใส่เอ็ฟเฟ็กต์)
4.
Overlay (ทำภาพซ้อน)
5.
Title (ใส่ตัวหนังสือ)
6.
Audio (ใส่ดนตรีประกอบ/บันทึกเสียงบรรยาย)
7.
Share (บันทึกวีดีโอที่ตัดต่อแล้ว ลงสื่อต่างๆ)
ขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น สามารถข้ามไปยังส่วนอื่นได้
เช่น อาจจะไปใส่ดนตรีประกอบก่อน แล้วมาใส่ตัวหนังสือภายหลังก็ได้
หรือเมื่อตัดต่อเสร็จในข้อ 2 แล้วก็อาจจะไปเลือกข้อ 7 เพื่อเขียนลงแผ่นก็ได้
ไม่จำเป็นต้องทำครบทุกขั้นตอน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคุณจะตัดต่อวีดีโออย่างไร
และต้องทำอะไรบ้างในการตัดต่อ
ขั้นตอนต่างๆ ในการตัดต่อวีดีโอ
เมื่อเปิด project ใน Ulead แล้ว ในขั้นตอน Capture นี้
คุณสามารถที่จะบันทึกวีดีโอจากกล้องวีดีโอดิจิตอลเป็นไฟล์ลงในคอมพิวเตอร์ ได้
วีดีโอที่บันทึกจากกล้องลงคอมพิวเตอร์นั้น สามารถที่จะบันทึกเป็นไฟล์เพียงไฟล์เดียว
หรือให้แยกเป็นไฟล์ได้หลายๆ ไฟล์โดยอัตโนมัติ และในขั้นตอนการจับภาพนี้
นอกจากคุณจับภาพวีดีโอแล้วยังสามารถที่จะบันทึกภาพจากวีดีโอเป็นภาพนิ่งได้ อีกด้วย
ขั้นตอนการแก้ไขและ Timeline
นี้ เป็นจุดสำคัญของการใช้ Ulead VideoStudio ในขั้นตอนนี้คุณสามารถที่จะเรียงลำดับคลิปวีดีโอ
ที่ถ่ายมาแต่ไม่ได้เรียงลำดับเหตุการณ์กัน ก็มาเรียงลำดับเหตุการณ์ในขั้นตอนนี้
หรือแทรกคลิปวีดีโออื่นๆ เข้ามาในกระบวนการตัดต่อ เช่น
หลังจากที่คุณจับภาพมาจากกล้องแล้ว เห็นว่าคลิปวีดีโอที่มีอยู่ในเครื่อง เหมาะสม น่าที่จะนำมาแทรกในบางช่วงของวีดีโอที่คุณกำลังตัดต่อ
ก็สามารถทำได้ กรณีที่มีคลิปวีดีโอเพียงไฟล์เดียว เช่น
จับภาพวีดีโอมาเป็นไฟล์เดียว ไม่ได้แยกไฟล์เป็นหลายๆ ส่วน ก็สามารถตัดแยก scene
วีดีโอได้ เพื่อใส่เอ็ฟเฟ็กต์ระหว่าง scene ลบคลิปวีดีโอที่ไม่ต้องการออก
ตัดคลิปวีดีโอบางส่วนที่ถ่ายเสียหรือไม่ต้องการออก และการใส่วีดีโอฟิลเตอร์ (เช่น
การใส่ตัวฟิลเตอร์ฝนตกในคลิปวีดีโอ ทำให้คลิปวีดีโอนั้นดูเหมือนมีฝนตกจริงๆ )
ก็สามารถทำได้ในขั้นตอนนี้เช่นกัน
ในขั้นตอนนี้ ให้คุณสามารถใส่ทรานสิชั่น (transition) ระหว่างคลิปวีดีโอใน project
ซึ่งใน Ulead นี้จะมีกลุ่มของทรานสิชั่นต่างๆ
ให้เลือกอย่างมากมายใน Library ทรานสิชั่น
เป็นเอ็ฟเฟ็กต์ที่ใส่ไว้ในระหว่างคลิป ทำให้วีดีโอดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น
ฉากที่ค่อยๆ จางหายไปจนมืด แล้วก็มีฉากถัดไปที่จางแล้วค่อยๆ ชัดเจนขึ้น หรือ
ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนฉากนั้น จะมีภาพซ้อนกันของทั้งสองฉาก เป็นต้น
นี่เป็นการใส่ทรานสิชั่นนั่นเอง
ขั้นตอนนี้เป็นการซ้อนคลิปวีดีโอบนคลิปวีดีโอที่มีอยู่
เหมือนกับที่เราดูโทรทัศน์ ที่มีการสัมภาษณ์บุคคลเกี่ยวกับดารา แล้วก็มีกรอบเล็กๆ
เป็นภาพของดาราที่กำลังดูบุคคลอื่นพูดถึงตนเองอยู่
ใส่ตัวหนังสือในวีดีโอ เช่น ชื่อเรื่องวีดีโอ แสดงชื่อบุคคล
หรือตัวหนังสือปิดท้ายวีดีโอ ใครถ่ายทำ ถ่ายเมื่อไหร่ ที่ไหน เป็นต้น
สามารถที่จะสร้างตัวหนังสือแบบเคลื่อนไหวได้ มีมากมากหลายแบบ เช่น
ตัวหนังสือลอยจากจอภาพด้านล่างขึ้นไปด้านบน เหมือนกับตัวหนังสือเมื่อดูภาพยนตร์ตอนจบ
หรือจะวิ่งจากด้านขวามือมาซ้ายมือ หรือจะเลือกชุดสำเร็จรูปจาก Library ก็ได้
ขั้นตอนนี้สำหรับใส่ดนตรีประกอบวีดีโอ สามารถเลือกเพลงจากแผ่น CD แล้วบันทึกมาเป็นไฟล์ทำดนตรีประกอบได้
บันทึกเสียงบรรยายวีดีโอ รวมทั้งการปรับแต่งเสียงต่างๆ เช่น ลดเสียงในวีดีโอต้นฉบับในบางช่วงขณะที่บันทึกเสียงบรรยายลงไป
เพื่อให้ได้ยินเสียงบรรยายชัดเจนมากยิ่งขึ้น หรือปรับระดับเสียงของดนตรีประกอบ
เป็นต้น
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย เมื่อตัดต่อวีดีโอเสร็จแล้ว
ก็จะเป็นสร้างไฟล์วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงาน สามารถทำได้หลายแบบ เช่น
สร้างไฟล์วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงานบนเว็บ
เขียนวีดีโอที่ตัดต่อเสร็จแล้วกลับลงเทปอีกครั้ง เขียนลงแผ่น CD เป็น VCD หรือเขียนลง DVD
เมื่อเปิด project ใน Ulead แล้ว ในขั้นตอน Capture นี้
คุณสามารถที่จะบันทึกวีดีโอจากกล้องวีดีโอดิจิตอลเป็นไฟล์ลงในคอมพิวเตอร์ ได้
วีดีโอที่บันทึกจากกล้องลงคอมพิวเตอร์นั้น
สามารถที่จะบันทึกเป็นไฟล์เพียงไฟล์เดียว หรือให้แยกเป็นไฟล์ได้หลายๆ
ไฟล์โดยอัตโนมัติ และในขั้นตอนการจับภาพนี้
นอกจากคุณจับภาพวีดีโอแล้วยังสามารถที่จะบันทึกภาพจากวีดีโอเป็นภาพนิ่งได้ อีกด้วย
ขั้นตอนการแก้ไขและ Timeline
นี้ เป็นจุดสำคัญของการใช้ Ulead VideoStudio ในขั้นตอนนี้คุณสามารถที่จะเรียงลำดับคลิปวีดีโอ
ที่ถ่ายมาแต่ไม่ได้เรียงลำดับเหตุการณ์กัน ก็มาเรียงลำดับเหตุการณ์ในขั้นตอนนี้
หรือแทรกคลิปวีดีโออื่นๆ เข้ามาในกระบวนการตัดต่อ เช่น
หลังจากที่คุณจับภาพมาจากกล้องแล้ว เห็นว่าคลิปวีดีโอที่มีอยู่ในเครื่อง เหมาะสม
น่าที่จะนำมาแทรกในบางช่วงของวีดีโอที่คุณกำลังตัดต่อ ก็สามารถทำได้
กรณีที่มีคลิปวีดีโอเพียงไฟล์เดียว เช่น จับภาพวีดีโอมาเป็นไฟล์เดียว
ไม่ได้แยกไฟล์เป็นหลายๆ ส่วน ก็สามารถตัดแยก scene วีดีโอได้
เพื่อใส่เอ็ฟเฟ็กต์ระหว่าง scene ลบคลิปวีดีโอที่ไม่ต้องการออก
ตัดคลิปวีดีโอบางส่วนที่ถ่ายเสียหรือไม่ต้องการออก และการใส่วีดีโอฟิลเตอร์ (เช่น
การใส่ตัวฟิลเตอร์ฝนตกในคลิปวีดีโอ ทำให้คลิปวีดีโอนั้นดูเหมือนมีฝนตกจริงๆ )
ก็สามารถทำได้ในขั้นตอนนี้เช่นกัน
ในขั้นตอนนี้ ให้คุณสามารถใส่ทรานสิชั่น (transition) ระหว่างคลิปวีดีโอใน project
ซึ่งใน Ulead นี้จะมีกลุ่มของทรานสิชั่นต่างๆ
ให้เลือกอย่างมากมายใน Library ทรานสิชั่น
เป็นเอ็ฟเฟ็กต์ที่ใส่ไว้ในระหว่างคลิป ทำให้วีดีโอดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น
ฉากที่ค่อยๆ จางหายไปจนมืด แล้วก็มีฉากถัดไปที่จางแล้วค่อยๆ ชัดเจนขึ้น หรือ
ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนฉากนั้น จะมีภาพซ้อนกันของทั้งสองฉาก เป็นต้น
นี่เป็นการใส่ทรานสิชั่นนั่นเอง
ขั้นตอนนี้เป็นการซ้อนคลิปวีดีโอบนคลิปวีดีโอที่มีอยู่
เหมือนกับที่เราดูโทรทัศน์ ที่มีการสัมภาษณ์บุคคลเกี่ยวกับดารา แล้วก็มีกรอบเล็กๆ
เป็นภาพของดาราที่กำลังดูบุคคลอื่นพูดถึงตนเองอยู่
ใส่ตัวหนังสือในวีดีโอ เช่น ชื่อเรื่องวีดีโอ แสดงชื่อบุคคล
หรือตัวหนังสือปิดท้ายวีดีโอ ใครถ่ายทำ ถ่ายเมื่อไหร่ ที่ไหน เป็นต้น
สามารถที่จะสร้างตัวหนังสือแบบเคลื่อนไหวได้ มีมากมากหลายแบบ เช่น ตัวหนังสือลอยจากจอภาพด้านล่างขึ้นไปด้านบน
เหมือนกับตัวหนังสือเมื่อดูภาพยนตร์ตอนจบ หรือจะวิ่งจากด้านขวามือมาซ้ายมือ
หรือจะเลือกชุดสำเร็จรูปจาก Library ก็ได้
ขั้นตอนนี้สำหรับใส่ดนตรีประกอบวีดีโอ สามารถเลือกเพลงจากแผ่น CD แล้วบันทึกมาเป็นไฟล์ทำดนตรีประกอบได้
บันทึกเสียงบรรยายวีดีโอ รวมทั้งการปรับแต่งเสียงต่างๆ เช่น
ลดเสียงในวีดีโอต้นฉบับในบางช่วงขณะที่บันทึกเสียงบรรยายลงไป
เพื่อให้ได้ยินเสียงบรรยายชัดเจนมากยิ่งขึ้น หรือปรับระดับเสียงของดนตรีประกอบ
เป็นต้น
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย เมื่อตัดต่อวีดีโอเสร็จแล้ว
ก็จะเป็นสร้างไฟล์วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงาน สามารถทำได้หลายแบบ เช่น
สร้างไฟล์วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงานบนเว็บ
เขียนวีดีโอที่ตัดต่อเสร็จแล้วกลับลงเทปอีกครั้ง เขียนลงแผ่น CD เป็น VCD หรือเขียนลง DVD
·
MenuBar
แถบเมนูนี้ เป็นที่รวมของคำสั่งต่างๆ มากมาย
แถบเมนูนี้ เป็นที่รวมของคำสั่งต่างๆ มากมาย
File menu
o New Project: สร้างไฟล์โครงการของ Ulead VideoStudio ใหม่
จะล้างพื้นที่ทำงานที่มีอยู่และเปิดโครงการใหม่ด้วยการตั้งค่าตามที่ระบุไว้
ในกรอบโต้ตอบ New ถ้าคุณมีโครงการที่ยังไม่ได้บันทึก
เปิดไว้ในพื้นที่ทำงาน เมื่อคุณคลิก New Project Ulead VideoStudio จะมีข้อความแจ้งให้คุณบันทึกงานก่อน
o Open Project: เรียกกรอบโต้ตอบ Open เพื่อเลือกไฟล์โครงการของ Ulead
VideoStudio (VSP) เพื่อแทนที่ในพื้นที่ทำงาน
ถ้าคุณมีโครงการที่ยังไม่ได้บันทึก เปิดใช้งานอยู่ในพื้นที่ทำงาน
จะมีข้อความปรากฏให้คุณบันทึกการเปลี่ยนแปลงก่อน
o Save/Save As: อนุญาตให้คุณบันทึกงานของคุณเป็นโครงการใหม่หรือโครงการที่มีอยู่แล้ว (*.VSP).
โปรแกรมจะเปิดกรอบโต้ตอบ Save As ให้คุณกำหนดเส้นทางและชื่อไฟล์ที่จะบันทึก
o Project Properties: แสดงกรอบโต้ตอบ Project Properties ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับไฟล์ที่กำลังเปิดอยู่
ตรงนี้ คุณสามารถที่จะแก้ไขแอททริบิวส์เทมเพลตของไฟล์โครงการได้
o Preferences: เปิดกรอบโต้ตอบ Preferences ที่คุณสามารถปรับแต่งสภาพแวดล้อมการทำงานของ
Ulead VideoStudio ได้ (See "Preferences: File
menu").
o Relink: แสดงกรอบโต้ตอบ Relink แจ้งให้คุณทำการเชื่อมโยงซ้ำคลิกที่เลือกไว้เมื่อมีความจำเป็น
ถ้าคุณย้ายโฟลเดอร์ที่มีไฟล์ต้นแบบไปยังไดเร็คทอรี่อื่น เลือก Smart search
ในกรอบโต้ตอบ Relink เมื่อคุณทำการเชื่อมโยงรูปภาพเล็ก
(thumbnail) ซ้ำอีกครั้ง Ulead VideoStudio จะทำการเชื่อมโยงซ้ำไฟล์ต้นแบบทุกไฟล์ในไดเร็คทอรี่โดยอัตโนมัติ
o Insert Media File to Timeline: แสดงป๊อบ-อัพเมนูที่อนุญาตให้คุณค้นหาวีดีโอ,
DVD/DVD-VR, รูปภาพ, หรือเสียง, และจากนั้นจึงแทรกเข้าไปในแทร็ค
o Insert Media File to Library: แสดงป๊อบ-อัพเมนูที่อนุญาตให้คุณได้เลือกวีดีโอ,
DVD/DVD-VR, ภาพ, หรือเสียงแล้วแทรกไปไว้ใน Library
o Exit: ปิดโปรแกรม Ulead VideoStudio แสดงกรอบข้อความให้คุณบันทึกโครงการที่ทำงานอยู่
ในกรณีที่คุณยังไม่ได้บันทึกโครงการ
·
Undo: ย้อนกลับการกระทำที่ผ่านมาที่คุณได้กระทำในโครงการของคุณ
Ulead VideoStudio อนุญาตให้คุณย้อนกลับการทำงานล่าสุดได้ถึง
99 ครั้ง จำนวนของขั้นตอนที่คุณยกเลิกกระทำ
ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าที่คุณได้ระบุไว้ในแท็บ General ในเมนู
File: Preferences (See "General tab").
·
Redo: อนุญาตให้คุณย้อนกลับคำสั่ง ยกเลิกทำ ได้ถึง 99
ครั้งที่คุณได้กระทำมา คุณสามารถกำหนดจำนวนขั้นตอนการทำซ้ำได้
ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าที่คุณได้ระบุไว้ในแท็บ General ใน
เมนู File: Preferences
·
Copy: คัดลอกคลิปสื่อที่ได้เลือกไว้ไปยังคลิปบอร์ด
ดังนั้นจึงสามารถที่จะวางไว้ในโฟลเดอร์ไลบรารี่ได้
·
Paste: วางคลิปสื่อที่ได้คัดลอกไว้ไปยังโฟลเดอร์ไลบรารี่ที่เลือกไว้
·
Delete: ลบคลิกที่เลือกไว้ออกจากแทร็ค/โฟลเดอร์ไลบรารี่ที่เลือกไว้
·
Change
Image/Color Duration: เปิดกรอบโต้ตอบ Duration
ที่คุณสามารถเปลี่ยนความยาวของคลิป
·
Mute: ปิดเสียงของคลิปวีดีโอ. ตัวเลือกนี้
เหมาะสำหรับการประยุกต์ใส่ดนตรีประกอบไปยังคลิปที่ระบุ
·
Fade-in: ค่อยๆ เพิ่มเสียงของคลิปจากเงียบไปจนถึงดังสุด
·
Fade-out: ค่อยๆ ลดเสียงของคลิปจากดังสุดไปจนถึงเงียบสุด
·
Cut Clip: ตัดคลิปวีดีโอหรือเสียเป็นสองคลิป
ด้วยการเลือกคลิปแล้ว ย้าย Jog Slider ที่อยู่ใต้หน้าต่างพรีวิวไปยังจุดที่คุณต้องการตัดคลิป
·
Multi-trim
Video: เปิดกรอบโต้ตอบ Multi-trim
Video คุณสามารถเลือกตัดส่วนไฟล์วีดีโอที่ต้องการหรือไม่ต้องการออก
ได้หลายๆ ส่วนให้เหลือเฉพาะส่วนที่ต้องการ
·
Split by Scene: เปิดกรอบโต้ตอบ Scenes ที่คุณสามารถแยกไฟล์วีดีโอโดยอาศัยหลักการของเนื้อหาของเฟรมหรือวันที่
บันทึกภาพ เป็นตัวแยกไฟล์วีดีโอออกเป็น scene ตัวเลือกนี้สามารถใช้ได้กับคลิปที่อยู่ในไลบรารี่ได้
คือแม้เป็นไฟล์วีดีโอที่รวม scene มาแล้วก็สามารถใช้คำสั่งนี้แยกได้เหมือนกัน
·
Save Trimmed
Video: ตัดส่วนที่เลือกไว้และบันทึกเป็นไฟล์วีดีโอใหม่
หลังจากการตัดวีดีโอแล้ว รูปภาพเล็กของไฟล์วีดีโอใหม่จะปรากฏในไลบรารี่
·
Save as Still
Image: บันทึกเฟรมปัจจุบันไปหน้าต่าง
Preview Window เป็นรูปภาพใหม่.
ภาพขนาดเล็กของรูปภาพใหม่นี้จะปรากฏอยู่ใน Library.
·
Export: จัดเตรียมหลายๆ
ทางเลือกในการส่งออกและเผยแพร่หนังของคุณ:
Ulead DVD DiskRecorder: อนุญาตให้คุณบันทึกหรือเพิ่มวีดีโอของคุณไปยังอุปกรณ์ที่สนับสนุน DVD-RAM (ใช้ฟอร์แมต DVD-VR ) หรือ DVD-R.
DV Recording: เปิดกรอบโต้ตอบอนุญาตให้คุณส่งตรงและบันทึกข้อมูลวีดีโอไปยังกล้องถ่ายวีดีโอดิจิตอล หรืออุปกรณ์บันทึก DV อื่นๆ
Web Page: อนุญาตให้คุณใส่คลิปหรือไฟล์หนังบนเว็บเพจ
E-mail: เปิดโปรแกรมรับส่งอีเมล์ (เช่น Outlook Express) และแนบคลิปวีดีโอหรือไฟล์หนังที่เลือกไว้
Greeting Card: เปิดกรอบโต้ตอบอนุญาตให้คุณสร้างการ์ดอวยพรแบบสื่อผสมโดยใช้คลิปหรือไฟล์หนังที่คุณเลือกไว้
Movie Screen Saver: บันทึกคลิปที่เลือกไว้เป็น screen saver บนเดสค์ทอป. คุณสามารถส่งออกเฉพาะไฟล์ WMV เป็น screen saver เท่านั้น
Ulead DVD DiskRecorder: อนุญาตให้คุณบันทึกหรือเพิ่มวีดีโอของคุณไปยังอุปกรณ์ที่สนับสนุน DVD-RAM (ใช้ฟอร์แมต DVD-VR ) หรือ DVD-R.
DV Recording: เปิดกรอบโต้ตอบอนุญาตให้คุณส่งตรงและบันทึกข้อมูลวีดีโอไปยังกล้องถ่ายวีดีโอดิจิตอล หรืออุปกรณ์บันทึก DV อื่นๆ
Web Page: อนุญาตให้คุณใส่คลิปหรือไฟล์หนังบนเว็บเพจ
E-mail: เปิดโปรแกรมรับส่งอีเมล์ (เช่น Outlook Express) และแนบคลิปวีดีโอหรือไฟล์หนังที่เลือกไว้
Greeting Card: เปิดกรอบโต้ตอบอนุญาตให้คุณสร้างการ์ดอวยพรแบบสื่อผสมโดยใช้คลิปหรือไฟล์หนังที่คุณเลือกไว้
Movie Screen Saver: บันทึกคลิปที่เลือกไว้เป็น screen saver บนเดสค์ทอป. คุณสามารถส่งออกเฉพาะไฟล์ WMV เป็น screen saver เท่านั้น
·
Properties: แสดงข้อมูลเกี่ยวกับคลิปที่เลือกไว้
·
VideoStudio
DV-to-DVD Wizard: เปิด DV to
DVD Wizard ที่อนุญาตให้คุณจับภาพวีดีโอจากกล้องถ่ายวีดีโอดิจิตอล (DV
camcorder) แล้วเขียนลงแผ่นดิสก์
·
VideoStudio
Movie Wizard: เปิด Movie
Wizard ที่อนุญาตให้คุณสร้างหนังได้อย่างรวดเร็ว (See
"Movie Wizard").
·
Create Disc: อนุญาตให้คุณนำออกโครงการของคุณ
(พร้อมกับโครงการของ VideoStudio หรือวีดีโออื่นๆ)
เพื่อสร้าง VCD, SVCD, หรือ DVD.
·
Select Device
Control: เปิดกรอบโต้ตอบที่คุณสามารถตั้งการควบคุมอุปกรณ์ได้
ส่วนนี้จะอนุญาตให้คุณได้ควบคุมอุปกรณ์กล้องวีดีโอดิจิตอลโดยใช้ Navigation
Panel.
·
Change Capture
Plug-in: แสดงกรอบโต้ตอบ Change
Capture Plug-in ที่อนุญาตให้คุณเลือก plug-in สำหรับ capture driver.
·
Batch Convert: เปิดกรอบโต้ตอบ Batch Convert ที่คุณสามารถเลือกวีดีโอหลายๆ
ไฟล์ที่มีฟอร์แมตแตกต่างกันและแปลงเป็นไฟล์วีดีโอฟอร์แมตเดียวกัน
·
Full Screen
Preview: แสดงขนาดพรีวิวที่แท้จริงของโครงการของคุณโดยใช้จอ
PC or จอ TV ส่วนนี้จะพบในขั้นตอน Capture
และ Share
·
Save Current
Frame as Image: บันทึกเฟรมปัจจุบันในหน้าต่างดูภาพ
(preview) เป็นภาพนิ่งเก็บไว้ใน Library
·
Make Movie
Manager: สร้างและจัดการ template
ที่บรรจุข้อมูลทุกอย่าง (ฟอร์แมตไฟล์, ระดับเฟรม
(frame rate), การบีบอัด เป็นต้น)
ที่ต้องการเพื่อสร้างไฟล์วีดีโอจากโครงการ. หลังจากที่คุณสร้าง template, เมื่อคุณคลิกสร้างไฟล์วีดีโอในขั้นตอน Share จะมีตัวเลือกให้คุณได้ใช้
template นั้น
·
Preview Files
Manager: เปิดกรอบโต้ตอบ Preview
Files Manager , แสดงรายชื่อไฟล์พรีวิวทั้งหมดที่สร้างในโครงการ.คุณสามารถเลือกลบไฟล์พรีวิวได้,
·
Library
Manager: อนุญาตให้คุณสร้างโฟลเดอร์ใน
Library ได้
·
Product Codec
Information: เปิดกรอบโต้ตอบที่คุณสามารถดู
codec ของ Ulead ที่ได้ติดตั้งไว้แล้ว
หรือซื้อ codec จาก Ulead
·
Smart Download: เปิดกรอบโต้ตอบที่คุณสามารถดาวน์โหลดส่วนประกอบสำหรับ
VideoStudio.
·
Print Options: เปิดกรอบโต้ตอบที่คุณสามารถระบุการตั้งค่าสำหรับการพิมพ์ภาพนิ่ง
·
Ulead
VideoStudio Help: แสดงความช่วยเหลือเกี่ยวกับ
Ulead VideoStudio.
·
Online
Registration: เปิดหน้าเว็บลงทะเบียนออนไลน์ของ
Ulead VideoStudio ในเบราเซอร์
·
Product
Updates on the Web: เปิดหน้าเว็บเบราเซอร์โดยอัตโนมัติและนำคุณไปยังเว็บไซต์ของ
Ulead เพื่อลงทะเบียนออนไลน์
·
About Ulead
VideoStudio: แสดงรุ่นของโปรแกรมและข้อมูลลิขสิทธิ์
·
Options Panel
Options Panel นี้จะเปลี่ยนไปตามโหมดของโปรแกรมและขั้นตอนหรือแทร็คที่คุณกำลังทำงานอยู่
เช่น คุณเลือกคลิปวีดีโอ ก็จะมีตัวเลือกอีกอย่าง เมื่อเลือกรูปภาพ
ก็จะมีตัวเลือกอีกอย่าง Options Panel อาจจะมีเพียงแท็บเดียวหรือสองแท็บก็ได้
การควบคุมและตัวเลือกในแต่ละแท็บแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับคลิปที่คุณเลือก
·
Navigation Panel
Navigation
Panel นี้เป็นส่วนสำหรับควบคุมต่างๆ แยกหน้าที่ตามโหมดของการทำงาน
Navigation
Panel ใช้สำหรับดูภาพและแก้ไขคลิปในโครงการ ใช้ Navigation
Controls เลื่อนไปมาทั้งในคลิปหรือโครงการ ใช้ Trim Handles และ Jog Slider ในการแก้ไขคลิปเมื่อจับภาพวีดีโอจากกล้องวีดีโอดิจิตอล
Navigation Controls ใช้สำหรับควบคุมอุปกรณ์ ใช้ปุ่มต่างๆ
เพื่อควบคุมกล้องวีดีโอดิจิตอล หรืออุปกรณ์อื่นๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น